ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 Leadership of School Administrators under the office of Nakhon Si Thammarat Primary Educational Service Area 2
Article Sidebar
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 และ 2)เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 ตามความคิดเห็นของครู จำแนกตามวุฒิการศึกษา ประสบการณ์การสอน และขนาดโรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือครูโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 จำนวน 320 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น และวิธีการสุ่มอย่างง่ายเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามชนิดสำรวจรายการและมาตราส่วนประมาณค่า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่า t–test วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One Way ANOVA) และเปรียบเทียบรายคู่ตามวิธีการของ LSD (Least Significant Difference)
ผลการวิจัยพบว่า 1)ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 อยู่ในระดับมากทั้งโดยรวมและรายด้าน 2)ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 ตามความคิดเห็นของครู จำแนกตามวุฒิการศึกษา พบว่าไม่แตกต่างกันเมื่อจำแนกตามประสบการณ์การสอนและจำแนกตามขนาดโรงเรียน พบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 และ 2)เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 ตามความคิดเห็นของครู จำแนกตามวุฒิการศึกษา ประสบการณ์การสอน และขนาดโรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือครูโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 จำนวน 320 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น และวิธีการสุ่มอย่างง่ายเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามชนิดสำรวจรายการและมาตราส่วนประมาณค่า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่า t–test วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One Way ANOVA) และเปรียบเทียบรายคู่ตามวิธีการของ LSD (Least Significant Difference)
ผลการวิจัยพบว่า 1)ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 อยู่ในระดับมากทั้งโดยรวมและรายด้าน 2)ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 ตามความคิดเห็นของครู จำแนกตามวุฒิการศึกษา พบว่าไม่แตกต่างกันเมื่อจำแนกตามประสบการณ์การสอนและจำแนกตามขนาดโรงเรียน พบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (FACTORS AFFECTING ETHICAL LEADERSHIP OF BASIC EDUCATION SCHOOL ADMINISTRATORS UNDER THE OFFICE OF THE BASIC EDUCATION COMMISSION)
Main Article Content
Abstract
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมและปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษาอิทธิพลของปัจจัยที่ส่งผล และนำเสนอข้อเสนอเชิงนโยบายการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้อำนวยการสถานศึกษา 215 คน ผู้ให้ข้อมูลเชิงปริมาณเป็นผู้อำนวยการสถานศึกษา 215 คน และรองผู้อำนวยการสถานศึกษาหรือครู 860 คน และผู้ให้ข้อมูลเชิงคุณภาพเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ 9 คน โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก และผู้เชี่ยวชาญ 8 คน โดยการสัมมนาอ้างอิงผู้เชี่ยวชาญ เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสอบถามภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมและปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม มีค่าความเที่ยง .96 และ .95 แนวคำถามการสัมภาษณ์เชิงลึก และแนวคำถามสัมมนาอ้างอิงผู้เชี่ยวชาญ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง ผลการวิจัย พบว่า 1) ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม ประกอบด้วย การมีวินัย การประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี การดำรงชีวิตอย่างเหมาะสม ความรักและศรัทธาในวิชาชีพ และความรับผิดชอบในวิชาชีพ 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม ประกอบด้วย การมีบุคคลต้นแบบและได้ร่วมงานกับบุคคลที่มีจริยธรรม การได้รับการส่งเสริมจริยธรรมจากสถาบันทางสังคม การอยู่ในสิ่งแวดล้อมทางสังคมที่ส่งเสริมจริยธรรม การมีคุณลักษณะของตนเองที่เอื้อต่อการพัฒนาจริยธรรม สถานศึกษามีบรรยากาศองค์การ ปทัสถานทางสังคม วัฒนธรรมองค์การเน้นจริยธรรม และมีระบบการให้รางวัลและการลงโทษด้านจริยธรรม 3) ปัจจัยมีอิทธิพลทางบวกต่อภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม และ 4) ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม ได้แก่ พัฒนาสถานศึกษาเป็นองค์การเน้นจริยธรรม พัฒนาคุณลักษณะของตนเอง ส่งเสริมบทบาทของสถาบันทางสังคม พัฒนาบุคคลแวดล้อม และปรับสิ่งแวดล้อมทางสังคมให้เอื้อต่อการพัฒนาจริยธรรม
Main Article Content
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา มีวิธีการวิจัยเป็น 3 ขั้นตอน 1) การสร้างรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา เป็นการศึกษาองค์ประกอบ และแนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำร่วมจากเอกสารเกี่ยวกับทฤษฎีภาวะผู้นำ และการสัมภาษณ์คณะกรรมการสถานศึกษา 2) การทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา 3) การประเมินประสิทธิภาพรูปแบบของกระบวนการพัฒนาภาวะผู้นำร่วมและผลกระทบของการใช้รูปแบบ ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาเป็นแบบจำลองที่แสดงความสัมพันธ์ขององค์ประกอบ 4 ส่วน คือ 1) ทิศทางของรูปแบบการพัฒนา กระบวนการพัฒนา ผลลัพธ์ของรูปแบบการพัฒนา และปัจจัยความสำเร็จของการพัฒนา 2) คณะกรรมการสถานศึกษาและทีมสนับสนุน ได้รับการพัฒนาภาวะผู้นำร่วมโดยการเปลี่ยนแปลงทักษะการเรียนรู้ และการทำงานเป็นทีม 3) ผลการประเมินประสิทธิภาพรูปแบบกระบวนการพัฒนาภาวะผู้นำร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษา พบว่าคณะกรรมการสถานศึกษามีการเปลี่ยนแปลงด้านทักษะการเรียนรู้ การทำงานเป็นทีม และการศึกษาผลกระทบของการใช้รูปแบบ พบว่าคณะกรรมการสถานศึกษามีความเข้าใจตนเองและผู้อื่นดีขึ้น คณะกรรมการสถานศึกษาเข้าใจบทบาทและหน้าที่มากขึ้น เห็นคุณค่าของเป้าหมายร่วมในการพัฒนาโรงเรียน Article Details
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา มีวิธีการวิจัยเป็น 3 ขั้นตอน 1) การสร้างรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา เป็นการศึกษาองค์ประกอบ และแนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำร่วมจากเอกสารเกี่ยวกับทฤษฎีภาวะผู้นำ และการสัมภาษณ์คณะกรรมการสถานศึกษา 2) การทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา 3) การประเมินประสิทธิภาพรูปแบบของกระบวนการพัฒนาภาวะผู้นำร่วมและผลกระทบของการใช้รูปแบบ ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาเป็นแบบจำลองที่แสดงความสัมพันธ์ขององค์ประกอบ 4 ส่วน คือ 1) ทิศทางของรูปแบบการพัฒนา กระบวนการพัฒนา ผลลัพธ์ของรูปแบบการพัฒนา และปัจจัยความสำเร็จของการพัฒนา 2) คณะกรรมการสถานศึกษาและทีมสนับสนุน ได้รับการพัฒนาภาวะผู้นำร่วมโดยการเปลี่ยนแปลงทักษะการเรียนรู้ และการทำงานเป็นทีม 3) ผลการประเมินประสิทธิภาพรูปแบบกระบวนการพัฒนาภาวะผู้นำร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษา พบว่าคณะกรรมการสถานศึกษามีการเปลี่ยนแปลงด้านทักษะการเรียนรู้ การทำงานเป็นทีม และการศึกษาผลกระทบของการใช้รูปแบบ พบว่าคณะกรรมการสถานศึกษามีความเข้าใจตนเองและผู้อื่นดีขึ้น คณะกรรมการสถานศึกษาเข้าใจบทบาทและหน้าที่มากขึ้น เห็นคุณค่าของเป้าหมายร่วมในการพัฒนาโรงเรียน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น